วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อ้างอิง

อ้างอิง


(14 มิ.ย. 2557) www.trueplookpanya.co
 (14 มิ.. 2557 )www.baanjomyut.com

ผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่1


ผลกระทบ



หลังจากที่สหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมรบและประกาศศักดาในสงครามครั้งนี้ ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ก้าวเข้ามาเป็นหนึ่งในมหาอำนาจโลกเสรีบนเวทีโลกเคียงคู่กับอังกฤษและฝรั่งเศส
รัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจโลกสังคมนิยม หลังจากเลนินทำการปฏิวัติยึดอำนาจ และต่อมาเมื่อสามารถขยายอำนาจไปผนวกแคว้นต่าง ๆ มากขึ้น เช่น ยูเครน เบลารุส ฯลฯ จึงประกาศจัดตั้งสหภาพโซเวียต (
Union of Soviet Republics -USSR) ในปี ค.ศ. 1922
เกิดการร่างสนธิสัญญาแวร์ซาย (
The Treaty of Veraailles) โดยฝ่ายชนะสงครามสำหรับเยอรมนี และสนธิสัญญาสันติภาพอีก 4 ฉบับสำหรับพันธมิตรของเยอรมนี เพื่อให้ฝ่ายผู้แพ้ยอมรับผิดในฐานะเป็นผู้ก่อให้เกิดสงคราม ในสนธิสัญญาดังกล่าวฝ่ายผู้แพ้ต้องเสียค่าปฏิกรรมสงคราม เสียดินแดนทั้งในยุโรปและอาณานิคม ต้องลดกำลังทหาร อาวุธ และต้องถูกพันธมิตรเข้ายึดครองดินแดนจนกว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของสนธิสัญญาเรียบร้อย อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่ประเทศผู้แพ้ไม่ได้เข้าร่วมในการร่างสนธิสัญญา แต่ถูกบีบบังคับให้ลงนามยอมรับข้อตกลงของสนธิสัญญา จึงก่อให้เกิดภาวะตึงเครียดขึ้น
เกิดการก่อตัวของลัทธิฟาสซิสต์ในอิตาลี นาซีในเยอรมัน และเผด็จการทหารในญี่ปุ่น ซึ่งท้ายสุดประเทศมหาอำนาจเผด็จการทั้งสามได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรระหว่างกัน เพื่อต่อต้านโลกเสรีและคอมมิวนิสต์ เรียกกันว่าฝ่ายอักษะ (
Axis)
มีการจัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศ เป็น ความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อรักษาความมั่นคง ปลอดภัยและสันติภาพในโลก แต่ความพยายามดังกล่าวก็ดูจะล้มเหลว เพราะในปี ค.ศ. 1939 ได้เกิดสงครามที่รุนแรงขึ้นอีกครั้ง นั่นคือ สงครามโลกครั้งที่ 2

การสิ้นสุดสงครามโลก ครั้งที่ 1


การสิ้นสุดสงครามโลก ครั้งที่ 1 


            ในที่สุดเยอรมนีก็ต้องลงนามในสนธิสัญญาสงบศึกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 หลังจากนั้นประเทศสัมพันธมิตรก็เตรียมจัดทำสนธิสัญญาสันติภาพกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง แต่ละประเทศได้ลงนามสนธิสัญญาแวร์ซายส์ (Treaty of Versailles) ซึ่งเป็นการลงนามระหว่างประเทศสัมพันธมิตรกับเยอรมนีในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2462   ก็เป็นอันปิดฉากสงครามโลกครั้งที่ ลง สงครามที่คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 8 ล้านคน หลายล้านคนบาดเจ็บและอีกหลายล้านคนพิการตลอดชีวิต นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลกที่พลเรือนเสียชีวิตเป็นจำนวนมากพอ ๆ กับฝ่ายทหารที่เกี่ยวข้องในการการรบ

ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 1


ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 1


เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นในยุโรปใน พ.ศ. 2457 นั้น ประเทศไทยยังคงยึดมั่นอยู่ในความ เป็นกลางแต่พระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสังเกตความเคลื่อนไหวของคู่สงคราม อย่างใกล้ชิดการสงครามได้รุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ทรงเห็นว่าฝ่ายเยอรมนีเป็นฝ่ายรุกรานจึงทรงตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย -ฮังการี เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 แล้วประกาศเรียกพลทหารอาสาสำหรับกองบินและกองยานยนต์ทหารบก เพื่อส่งไปช่วย สงครามยุโรป
การส่งทหารไปรบครั้งนี้นับว่าเป็นประโยชน์ เพราะเท่ากับได้เรียนรู้วิชาการทางเทคนิคการรบและการช่างในสมรภูมิจริงๆ เมื่อเสร็จสงครามสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายชนะ ประเทศไทย ได้ส่งผู้แทนเข้าประชุม ณ พระราชวังแวร์ซาย ด้วยผลพลอยได้จากการเข้าสงครามนี้ ก็คือ สัญญาต่างๆ ที่ไทยทำกับเยอรมนีและออสเตรีย -ฮังการี ย่อมสิ้นสุดลงตั้งแต่ไทยประกาศสงครามกับประเทศนั้น และไทยก็ได้พยายามขอเจรจาข้อแก้ไขสนธิสัญญาฉบับเก่า ซึ่งทำไว้กับอังกฤษ ฝรั่งเศส และ ชาติอื่นๆ แต่ก็ประสบความยากลำบากอย่างมาก อาศัยที่ไทยได้ความช่วยเหลือจาก ดร. ฟราน ซิส บี แซยร์ (Dr. Francis B. Sayre) ชาวอเมริกาซึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาต่างประเทศจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยากัลยาณไมตรี

Francis-Bowes-Sayre-1.jpg
พระยากัลยาณไมตรี (ฟรานซิส บี. แซร์)
ผู้มีบทบาทในการยกเลิกข้อผูกพันตาม "สนธิสัญญาเบาว์ริง"
ที่ไทยเคยทำไว้กับประเทศอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ 4
 
แต่เนื่องจาก ดร.แซร์ เป็นผู้มีวิริยอุตสาหะ มีความสามารถทางการทูต และมีความตั้งใจดีต่อประเทศไทย ประกอบกับสถานภาพส่วนตัวของ ฟรานซิส ที่เป็นบุตรเขยของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา จึงทำให้การเจรจาประสบความสำเร็จ ในที่สุดประเทศต่างๆ 13 ประเทศ รวมทั้งอังกฤษ ตามสนธิสัญญา พ.ศ. 2468 และ ฝรั่งเศส ตามสนธิสัญญา พ.ศ. 2467 ตกลงยอมแก้ไขสัญญาโดยมีเงื่อนไขบางประการ เช่น จะยอมยกเลิกอำนาจศาลกงสุล เมื่อไทยมีประมวลกฎหมายครบถ้วน และยอมให้อิสรภาพในการเก็บภาษีอาการ ยก เว้นบางอย่างที่อังกฤษขอลดหย่อนต่อไปอีก 10 ปี เช่น ภาษีสินค้าฝ้ายเป็น เหล็ก ไทยพยายามเร่งชำระประมวลกฎหมายต่างๆ ต่อมาจนแล้วเสร็จ และเปิดการเจรจาอีกครั้งหนึ่งในที่สุด ประเทศต่างๆ ก็ยอมทำสัญญาใหม่กับไทย เมื่อ พ.ศ. 2480 ไทย ได้อิสรภาพทางอำนาจศาล และภาษีอากรคืนมาโดยสมบูรณ์
 

อาวุธที่ผลิตในสงครามโลกครั้งที่ 1


อาวุธที่ผลิตในสงครามโลกครั้งที่ 1 



            สงครามครั้งนี้เป็นการรบแบบใหม่ใช้อาวุธที่ผลิตได้จำนวนตามกระบวนการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม อาวุธชนิดใหม่ ได้แก่
            1. ปืนกล (machine gun) ซึ่งมีประสิทธิภาพมาก การป้องกันตัวจากปืนใหญ่และการสาดกระสุนของ
ปืนกลคือการขุดสนามเพลาะ(trench) เป็นแนวยาวเพื่อซุ่มซ่อนตัวเป็นวัน สัปดาห์หรือเดือน


1346840036.jpg

            2.  เครื่องบิน(airplane) ยังเป็นระยะเริ่มต้นพัฒนา โดยเป็นเครื่องบินใบพัดซึ่งบินไม่ได้เร็วนัก ใช้บิน
ลาดตระเวนหรือหย่อนระเบิดพื้นที่เป้าหมาย
            3. รถถัง(tank) อังกฤษเป็นผู้นำมาใช้ใน พ.ศ. 2459 ทำให้การบุกฝ่าเข้าปในแดนข้าศึกสะดวกขึ้น
            4. เรือดำน้ำ(submarine) เยอรมนีเป็นผู้นำมาใช้เพื่อการยุทธเป็นจำนวนมาก คนไทยในสมัยนั้น
เรียกว่าเรืออู(U-boat) เป็นมหันตภัยสำหรับการขนส่งสินค้าของฝ่ายพันธมิตรมาก
            5. ก๊าซพิษ(poison gas) เป็นการใช้สารเคมีในการทำร้ายคู่ต่อสู้ ซึ่งความรุนแรงของสารเคมีมีตั้งแต่ทำ
            ให้ระคายเคือง อาเจียน ผิวหนังปริแตก หายใจไม่ออก จนกระทั่งรุนแรงถึงขนาดทำให้เสียชีวิตภายในไม่กี่นาที ถือเป็นอาวุธร้ายแรงที่ผลิตง่าย ใช้เวลาน้อยและราคาถูก เช่น ก๊าซน้ำตา ก๊าซมัสตาร์ด ก๊าซไซยาไนด์ และก๊าซทำลายระบบประสาท เป็นต้น เยอรมนีเป็นฝ่ายริเริ่มใช้ก่อน ทำให้ในสงครามนี้ทหารทั้ง 2 ฝ่ายต้องใส่หน้ากากเพื่อป้องกันตนเอง

ประวัติสงครามโลกครั้งที่1


สงครามโลกครั้งที่1

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เป็นสงครามความขัดแย้งบนฐานการล่าอาณานิคม ระหว่างมหาอำนาจยุโรปสองค่าย คือ ฝ่ายไตรพันธมิตร (Triple Alliance) ซึ่งประกอบไปด้วยเยอรมนี  และอิตาลี กับฝ่าย (Triple Entente) ประกอบไปด้วยบริเตนใหญ่ ฝรั่งเศสและรัสเซีย เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1914 – 1918
ประวัติ
ในสมัยบิสมาร์คเป็นผู้นำในการสร้างจักรวรรดินิยมเยอรมัน เมื่อบิสมาร์ครบชนะฝรั่งเศส และประกาศจักรวรรดิเยอรมันแล้วจึงดำเนินการตั้ง The Three Emperor's League ซึ่งแสดงความเป็นสัมพันธมิตรระหว่าง เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และรัสเซีย ด้วยเจตนาสำคัญประการแรกคือ ป้องกันการแก้แค้นของฝรั่งเศส ต่อมาภายหลังเมื่อออสเตรีย-ฮังการี และรัสเซีย ขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์กัน จนมิอาจเป็นพันธมิตรต่อกันได้ บิสมาร์คจึงชักชวนอิตาลีเข้าแทนที่รัสเซีย จึงเกิด Triple Alliance ขึ้น
ครั้งบิสมาร์คหมดอำนาจลง จักรพรรดิเยอรมัน (Kaiser Wilhelm II) ทรงเลิกนโยบายเป็นพันธมิตรกับรัสเซีย และสร้างความไม่พอใจให้อังกฤษด้วยการเริ่มโครงการขยายกองทัพเรือและขยายอิทธิพลดินแดนตะวันออก ฝรั่งเศสจึงได้โอกาสเสริมสร้างสัมพันธไมตรีกับรัสเซียและเข้าใจอันดีกับอังกฤษ และในที่สุดเมื่อทั้งสามมหาอำนาจตกลงในความขัดแย้งเรื่องอาณานิคมที่เคยมีต่อกันได้แล้ว จึงจัดตั้ง Triple Entente ในปี ค.ศ. 1907
จุดแตกหักเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 เมื่อ อาร์คดยุคฟรานซิส เฟอร์ดินัลด์ (Archduke Francis Ferdinand) มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย-ฮังการีและพระชายาถูกลอบปลงพระชนม์ที่เมืองซาราเจโวในแคว้นบอสเนีย โดยนักศึกษาชาตินิยมชาวเซอร์เบีย ชื่อ กาวริลโล ปรินซิป (Gavrilo Princip)รัฐบาลออสเตรีย-ฮังการีจึงตัดสินใจจะทำลายล้างเซอร์เบียให้ราบคาบ และเมื่อได้รับแรงสนับสนุนจากเยอรมนี จึงยื่นข้อเรียกร้องที่เซอร์เบียไม่อาจยอมรับได้ ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย รัสเซียได้เข้าสนับสนุนเซอร์เบียและระดมพลเตรียมต่อสู้ เยอรมนีจึงได้เรียกร้องมิให้รัสเซียและฝรั่งเศสเข้ามาแทรกแซง ครั้นสองมหาอำนาจไม่ปฏิบัติตาม เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับรัสเซียในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1914 และฝรั่งเศสในวันที่ 3 สิงหาคม ค.ศ. 1914 ตามลำดับ
หลังจากเยอรมนีประกาศสงครามกับรัสเซียและฝรั่งเศสแล้ว ได้เคลื่อนกำลังพลเข้าละเมิดความเป็นกลางของประเทศเบลเยียมเพื่อขอเป็นทางผ่านในการบุกฝรั่งเศส อังกฤษซึ่งเป็นมหาอำนาจของโลกจึงประกาศสงครามกับเยอรมนีในวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1914 มหาอำนาจในยุโรปจึงเข้าสู่สงคราม ยกเว้นอิตาลีที่เข้าร่วมในปี ค.ศ. 1915


ฝ่ายเยอรมนี ออสเตรีย-อังการี อิตาลีได้ตุรกีและบัลแกเรียเป็นพันธมิตร ตุรกีเข้าโจมตีจักรวรรดิเปอร์เซีย บัลแกเรียเข้าผนวกโรมาเนีย แอลเบเนีย และโจมตีกรีซ ซึ่งต่อมาถูกเรียกโดยรวมว่าฝ่ายมหาอำนาจกลาง (Central Powers) ส่วนอังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย ซึ่งต่อมารู้จักกันในนามฝ่ายพันธ-มิตร (the Allies)ได้ประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศเข้าร่วม รวมทั้งประเทศในเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น แต่ในปี ค.ศ. 1917 รัสเซียได้ถอนตัวออกจากสงครามครั้งนี้ เนื่องจากเลนินผู้นำกลุ่มบอลเชวิคส์ทำการปฏิวัติทางการเมืองขึ้นในรัสเซีย และสหรัฐอเมริกาก็ได้เข้ามาแทนที่รัสเซีย หลังจากเยอรมนีประกาศจะใช้เรือดำน้ำทำลายเรือข้าศึกและเรือสินค้าของทุกชาติโดยไม่มีขอบเขต สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตรเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1917 โดยส่งทหารอาสาสมัครเข้าร่วมรบในสมรภูมิยุโรปจำนวน 1200 คน
ในช่วงแรกของสงคราม มหาอำนาจกลางเป็นฝ่ายได้เปรียบ แต่หลังจากที่อเมริกาเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร พร้อมกับส่งอาวุธยุทโธปกรณ์และกำลังพลเกือบ 5 ล้านคน ทำให้พันธมิตรกลับมาได้เปรียบและสามารถเอาชนะฝ่ายมหาอำนาจกลางได้อย่างเด็ดขาด ในที่สุดเมื่อฝ่ายมหาอำนาจกลางยอมแพ้และเซ็นต์สัญญาสงบศึกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 สงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งกินระยะเวลายาวนาน 4 ปี 5 เดือนจึงยุติลงอย่างเป็นรูปธรรม

คำนำ


คำนำ

        รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต กลุ่มสาระการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นเนื้อเกี่ยวกับทางวิชาการในเรื่อง สงครามโลกครั้งที่1เพื่อเสริมสร้างความรู้ในเรื่องสงครามโลกครั้งที่1
     หวังว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการหาความรู้ไดอย่างมีประสิทธิภาพเป็นไปตามหลักการและจุดมุ่งหมาย ขอขอบคุณเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลในการทำรายงานเล่มนี้ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีไว้ ณ โอกาสนี้


                                                                            






ชื่นฤดี  วงศ์สีดา